จากฉบับที่แล้วเราได้ทราบถึงการใช้ AAS ในการกีฬาและออกกำลังกาย รวมถึงกล่าวถึงผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจไปแล้ว ในฉบับนี้เราจะมีความรู้เพิ่มเติมว่า คนที่ใช้ AAS พบปัญหาและผลข้างเคียงอะไรบ้าง นอกจากสมรรถภาพในการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น หรือการมีกล้ามเนื้อที่ใหญ่โตและรูปร่างที่ดีขึ้น
ผลของ AAS ต่อระบบสืบพันธุ์
ผลข้างเคียงอย่างหนึงของการใช้ AAS คือ Hypogonadotrophic hypogonadism ซึ่งเป็นผลจาก hypothalamic negative feedback loop ซึ่งเป็นการตอบสนองในระดับสมองต่อการที่มีปริมาณ AAS ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น จึงทำให้สมองหลั่งฮอร์โมน มี Gonadotrophins ลดลง โดยอาการที่เกิดขึ้นได้ในผู้ชายที่ใช้ AAS คือ อัณฑะฝ่อ (Testicular atrophy) และการผลิตอสุจิที่ผิดปกติ (impaired spermatogenesis) ซึ่งการผลิตอสุจิจะยังคงผิดปกติอยู่ได้หลายเดือนแม้จะหยุดการใช้ AAS ซึ่งผลข้างเคียงเกี่ยวกับการผลิตอสุจินี้จะสามารถย้อนกลับได้ สำหรับในผู้หญิง ผลที่เกิดขึ้นจากการที่มีสมองหลั่ง Gonadotrophins ลดลง คือจะมีรอบประจำเดือนไม่ปกติ (แต่เมื่อหยุดใช้ AAS ก็จะสามารถย้อนคืนได้) และการใช้ AAS ในระยะยาวทำให้มีขนาดของคลิตอริสที่ใหญ่ขึ้น (clitoral hypertrophy ซึ่งผลนี้ค่อนข้างย้อนกลับเป็นปกติได้แต่น้อย)
ผลของ AAS ต่อความงาม (Cosmetic effect)
ผลจากการใช้ AAS จะเห็นชัดเจนในผู้หญิง คือ จะมีลักษณะเป็นชาย (masculinising effect) ซึ่งผลนี้อาจจะไม่ย้อนคืนได้ถึงแม้จะหยุดใช้ AAS เช่น การมีขนเพิ่มขึ้น (hirsutism) และเสียงพูดต่ำลึกขึ้น (deepening of the voice) นอกจากนี้สามารถทำให้หัวล้านได้แบบ male pattern baldness (เกิดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย) และที่พบได้บ่อยคือ สิว (Acne) เนื่องจาก AAS กระตุ้นต่อมไขมัน (sebaceous gland)
ผู้ชายมักจะใช้ AAS ในขนาดสูง ซึ่งมีผลให้เกิดปฏิกิริยา aromatisation ของ androgens แล้วมีฮอร์โมน estrogen ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมคล้ายผู้หญิง มีการสร้างเนื้อเยื่อเต้านมขึ้น เรียกภาวะนี้ว่า gynecomastia หรือที่ในวงการใช้คำเรียกย่อๆ ว่า ไกโน่ (gyno) โดยทั่วไปผู้ใช้ AAS จะต้องใช้ยา tamoxifen ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม selective oestrogen receptor modulator (SERM) เพื่อสู้กับผลข้างเคียงดังกล่าว
ในฉบับต่อไปจะพูดถึงผลของ AAS ต่อสุขภาพจิต(Psychological effects) และในด้านอื่นๆ รอติดตามนะครับ ขอบคุณครับ
โดย หมอซัน (นพ.วชิรวิทย์ เพ็ญรัตน์)
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ รพ.พังงา
Certificate in Drugs in Sport, International Olympic Committee
wachipenrat@gmail.com,
Instagram : dr.sunwachi
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี