โพลีฟีนอล (Polyphenols) เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่งที่พบในพืชเป็นหลัก สามารถจำแนกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ ลิกแนน (lignans) กรดฟีนอลิก (phenolic acids) สติลบีน (stilbenes) และฟลาโวนอยด์ (flavonoids) สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโต การสร้างเม็ดสี การผสมเกสร และการต้านทานต่อเชื้อโรคของพืช นอกจากนี้ โพลีฟีนอลยังส่งผลต่อลักษณะของรสชาติและสีของผักและผลไม้อีกด้วย ผลไม้สีสันสดใส เช่น เชอร์รี่แบล็กเคอร์แรนท์ บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ และทับทิม ถือเป็นแหล่งของสารโพลีฟีนอล ซึ่งมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ
ในคนทั่วไป เรามักได้ยินคำแนะนำให้บริโภคผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อส่งเสริมสุขภาพมานานหลายปีแล้ว แต่ในผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาผลลัพธ์อาจยังไม่แน่ชัดว่าสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการออกกำลังกายหรือช่วยในการฟื้นตัวให้เร็วขึ้นได้หรือไม่ แต่เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้มากขึ้น จึงอยากจะขอสรุปผลของงานวิจัยใหม่ๆ ที่ศึกษาผลของการได้รับสารโพลีฟีนอลต่อสมรรถภาพการออกกำลังกาย/เล่นกีฬาและการฟื้นตัว ไว้ดังนี้
1) มีงานวิจัยพบว่า โพลีฟีนอล มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ อาจช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidative stress) การอักเสบ และอาการปวดกล้ามเนื้อที่เป็นผลมาจากการออกกำลังกายได้ ดังนั้นจึงอาจมีผลช่วยให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (มีความแข็งแรง/แรงของกล้ามเนื้อ) ได้เร็วขึ้นหลังออกกำลังกาย
2) การศึกษาช่วงแรกๆ พบว่าการให้เควอซิทินเสริม (ฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่ง) ทำให้การรับรู้ความหนักของการออกกำลังกาย (perception of exercise effort) ลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น
3) การศึกษาแบบ meta-analysis ในแบล็กเคอร์แรนท์ แสดงให้เห็นว่าสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการออกกำลังกายที่มีความหนักสูงและระยะเวลานานได้ (ส่วนใหญ่ทำการศึกษาด้วยการปั่นจักรยาน และมักเห็นผลในนักกีฬาชั้นเลิศมากกว่านักกีฬาระดับรองๆ) โดยโพลีฟีนอลอาจช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อและช่วยในการฟื้นตัวหลังออกกำลังกายได้
4) ฟลาโวนอยด์ อาจช่วยลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนได้ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
5) แอนโทไซยานิน (ฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่ง) อาจช่วยเพิ่มการผลิตไนตริกออกไซด์ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นในระหว่างออกกำลังกาย
6) ทาร์ตเชอร์รี่ มีเมลาโทนินซึ่งอาจช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในการบริโภคสารดังกล่าว นอกเหนือจากจะบริโภคในรูปของผักและผลไม้แล้ว ยังมีการบริโภคในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากในท้องตลาดที่ไม่ได้ระบุปริมาณของสารสำคัญที่แน่นอนลงในบรรจุภัณฑ์ ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆจะให้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังหรือไม่
อาหารที่เป็นแหล่งของโพลีฟีนอล (ปริมาณอยู่ในวงเล็บ)
นักกีฬา/ผู้ที่ออกกำลังกายควรเลือกใช้อย่างไรและเมื่อไหร่?
การดูดซึมและเมแทบอลิซึมของโพลีฟีนอลส่วนใหญ่ถือว่าช้าและไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์ของโพลีฟีนอลในทางเดินอาหารยังมีการศึกษาไม่มากนัก และปัจจุบันงานวิจัยส่วนใหญ่ทำการศึกษาในผักและผลไม้บางชนิดเท่านั้น เช่น เควอซิติน เชอร์รี่ และแบล็กเคอร์แรนท์ ซึ่งการศึกษาสารโพลีฟีนอลชนิดอื่นๆในพืช (ชนิดอื่นๆ) ในมนุษย์ยังมีปริมาณไม่มากพอที่จะแนะนำปริมาณที่เหมาะสมได้
โดย ผศ.ดร.ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี