บทบาทของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในการป้องกันโรค
1. การป้องกันและรักษาภาวะท้องเสีย (Diarrhea) อาการท้องเสียที่พบได้้บ่อย ส่วนใหญ่่มีีสาเหตุุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ ไวรัส หรือสารพิษในลำไส้ และมักเกิดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ หรือในผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ในปัจจุบันได้มีการนำจุลินทรีย์โพรไบโอติกมาใช้ในการป้องกันและรักษาอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ ทั้งนี้จากการวิจัยทางคลินิกจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกบางชนิดสามารถลดอาการท้องร่วง ท้องเสีย และความถี่ของการถ่ายอุจจาระได้ โดยพบว่าโพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus acidophilus, L. delbruckii subsp. bulgaricus, L. rhamnosus GG และ L. fermentum สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด อาการท้องร่วงระหว่างการเดินทาง (Traveller’s diarrhea) นอกจากนี้โพรไบโอติิกยังมีีความสามารถย่อยน้ำตาลแลคโตส ซึ่งจะช่วยลดอาการท้องเสียในผู้บริโภคที่่ไม่่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้้
2. การป้องกันโรคลำไส้้แปรปรวนหรือไอบีเอส (Irritable Bowel Syndrome ; IBS) เป็นความผิดปกติิของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีีสาเหตุุมาจากลำไส้้ตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าได้เร็วกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยหรือใต้สะดือ โดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกสามารถกำจัดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค และช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งได้นำมาใช้รักษาผู้ป่วย IBS แล้วพบว่ามีอาการดีขึ้น (Lyra, 2016)
3. การป้องกันโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease ; IBD) โรคลำไส้อักเสบเป็นอาการรวมของโรคโครห์น (Crohn’s disease) และลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis or UC) รวมทั้ง โรคกระเปาะลำไส้อักเสบ แม้สาเหตุแท้จริงของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในลำไส้ (Tannock GW, 2000) ทั้งนี้ มีการนำจุลินทรีย์โพรไบโอติกมาใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เนื่องจากมีการวิจัยปรับภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะลำไส้อักเสบในทางคลินิกเมื่อผู้ป่วยได้รับจุลินทรีย์โพรไบโอติก จะสามารถลดอาการอักเสบของลำไส้และการกำเริบของโรค รวมทั้งลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะ (Mesalazine) เพียงอย่างเดียว
4. การลดระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol-lowering) จุลินทรีย์โพรไบโอติกบางสายพันธุ์มีศักยภาพในการลด คอเลสเตอรอลผ่านกลไกต่างๆ เช่น ช่วยการดูดซึมคอเลสเตอรอล รบกวนการก่อตัวของไมเซลล์์ซึ่งทำหน้าที่่ดูดซึมคอเลสเตอรอล ในลำไส้ และสร้าง Bile Salt Hydrolase (BSH) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการไฮโดรไลซ์น้ำดีที่อยู่ในรูป Conjugated bile salt ไปอยู่ในรูปDeconjugated bile salt ซึ่งมีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อย ตกตะกอนและถูกขับออกจากร่างกายไปกับอุจจาระ ทำให้ร่างกายต้องดึงเอาคอเลสเตอรอลมาใช้เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง Bile salt ที่ถูกขับออกไป จึงส่งผลให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายลดลง ทั้งนี้ ในการทดลองทางคลินิกโดยใช้โยเกิร์ตหมักด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติกพบว่า กลุ่มที่บริโภคโยเกิร์ตมีปริมาณคอเลสเตอรอลและไขมันเลว (LDL) ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก (Placebo)
5. การต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ปกติร่างกายสามารถป้องกันและยับยั้งสารอนุมูลอิสระได้้ โดยอาศัยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) เป็นตัวให้อิเล็กตรอนแก่่สารอนุมูลอิสระ (Hydrogen donor) ดังนั้นสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างขึ้นจะคอยควบคุมสารอนุมูลอิสระให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ให้มีปริมาณมากเกินไปจนทำให้เกิดสภาวะอนุมูลอิสระเกิน (Oxidative stress) ซึ่งนำไปสู่ความเสื่อมของระบบต่างๆ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค จึงจำเป็นต้องเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกาย ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติกบางสายพันธุ์มีความสามารถในการลดภาวะอนุมูลอิสระเกิน (Oxidative stress) โดยการดักจับสารอนุมูลอิสระหรือการป้องกันไม่ให้สร้างสารอนุมูลอิสระ
ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี