ในเทศกาลงานเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น เทศกาลลอยกระทง คริสต์มาส หรือวันขึ้นปีใหม่ “พลุและดอกไม้ไฟ” ได้ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่อลังการ และเพิ่มสีสันของงานให้มีความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่ได้รับชม ซึ่งการทำพลุและดอกไม้ไฟเป็นการรวมกันของศาสตร์และศิลป์ ผ่านการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่า ทำให้มีความสวยงามและมีรายละเอียดมากขึ้น ซึ่งกว่าจะมาเป็นพลุที่สวยงามเช่นปัจจุบันนั้น ผู้คิดค้นต่างสั่งสมประสบการณ์และได้บทสรุปในการผลิตซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆ 6 ส่วน ดังนี้
1.ชนวน (Fuse) เป็นวัสดุที่ติดไฟได้ง่าย ซึ่งจะยื่นออกมาจากพลุด้วยความยาวระดับหนึ่ง สำหรับให้จุดไฟที่ปลายของชนวน
2.เปลือกห่อหุ้ม (Shell) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนประกอบทั้งหมดของพลุเอาไว้
3.ดินปืน หรือดินประสิว (โพแทสเซียมไนเตรด, KNO3) ผสมกับกำมะถัน ส่งให้พลุพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า (Lifting Charge) ส่วนนี้เป็นส่วนที่จะเชื่อมต่อกับชนวน โดยจะสัมผัสกับประกายไฟและส่งให้พลุพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า
4.ชนวนควบคุมเวลาการระเบิด (Time Delayed Fuse) เป็นชนวนที่อยู่ภายในเปลือกห่อหุ้ม และเป็นตัวกำหนดระยะเวลาที่พลุจะระเบิดออกมาเป็นสีสันต่างๆ
5.ดินปืนจุดระเบิด (Bursting Charge) อยู่ติดกับชนวนควบคุมเวลาการระเบิด
6.เม็ดดาว (Star) เป็นส่วนของสารประกอบทางเคมีที่ให้สีสันต่างๆ เมื่อแตกออก ซึ่งสารประกอบทางเคมีแต่ละชนิดที่บรรจุอยู่ภายในพลุจะประกอบด้วยไอออนโลหะต่างชนิดกันและให้สีสันที่แตกต่างกันเมื่อเกิดการเผาไหม้ เช่น
สตรอนเชียมคาร์บอเนต (SrCO3) หรือ ลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) ให้สีแดง
แบเรียมคลอเรต (BaClO3) ให้สีเขียว
คอปเปอร์ซัลเฟต (CuSO4) ให้สีฟ้า
แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) หรือโซเดียมออกซาเลต (Na2C2O4) ให้สีเหลือง
แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) ให้สีส้ม
ทองแดง (Cu) ให้สีน้ำเงิน
อะลูมิเนียม (Al) หรือแมกนีเซียม (Mg) ให้สีขาว
นอกจากนี้การจัดเรียงส่วนประกอบภายในไส้พลุและจำนวนชั้นที่ห่อหุ้มไส้พลุ จะทำให้มีรูปแบบและระดับความสูงที่แสดงออกมาบนท้องฟ้ามีความหลากหลาย
เมื่อเราจุดไฟที่ชนวนของพลุ ไฟจะลุกไหม้กระทั่งไปถึงดินปืนเมื่อโพแทสเซียมไนเตรดในดินปืนได้รับความร้อนทำให้ปลดปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมาและทำให้ไฟติด การเผาไหม้ส่งแรงปะทุให้ไส้พลุพุ่งทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ขณะที่ไส้พลุขึ้นสู่ท้องฟ้า ชนวนควบคุมเวลาการระเบิดจะเกิดการเผาไหม้ และเมื่อสัมผัสกับส่วนผสมต่างๆ ภายในทำให้ไส้พลุระเบิดออก เม็ดดาวแตกกระจายออกมา และให้สีสันสวยงามสร้างความตื่นตาตื่นใจอย่างที่เราเห็นบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นกลไกและปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในของพลุ การจะทำพลุแต่ละลูกนั้นจึงต้องอาศัยการคิดค้นที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมพลุบางลูกถึงมีราคาสูง โดยบางลูกมีราคาถึงหลักแสนหลักล้านกันเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าพลุหรือดอกไม้ไฟจะมีความสวยงามเมื่ออยู่บนท้องฟ้า แต่จะมีอันตรายเช่นกันหากนำมาจุดโดยขาดความรู้ความชำนาญหรือไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เกิดอันตรายซึ่งอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ โดยมีข้อระมัดระวังในการเล่นพลุ เช่น ไม่ควรทดลองสร้างพลุด้วยตนเอง ไม่ควรเล่นในบ้านหรือปล่อยให้เด็กเล่น ตลอดจนวิธีการจุดพลุไม่ควรหันพลุไปในทิศทางที่มีผู้คน เป็นต้น ทั้งนี้หากต้องการชมความงดงามของพลุ สามารถชมได้ในงานเทศกาลต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น
เรียงเรียงข้อมูลจาก :
https://www.scimath.org/article-science/item/12736-2022-12-29-07-15-10
http://realmetro.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/64730/-blo-sciche-sci-
https://touchzy-sci.blogspot.com/2016/12/blog-post_20.html
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี