การรักษาจากการถูกตัวเรือดกัด
ส่วนมากแพทย์จะรักษาตามอาการ โดยแนะนำให้รับประทานยาแก้แพ้ แก้ค้น หรือทายาหม่อง ยาทาแก้คัน ยาทากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อรักษาอาการคันจากผื่น ซึ่งเราควรรักษาสุขอนามัยที่ดี ระวังไม่ให้ผื่นมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำอีก ทางที่ดีควรรีบป้องกันและกำจัดตัวเรือดโดยด่วน
วิธีการกำจัดตัวเรือดเบื้องต้น
การป้องกันและกำจัดตัวเรือดที่มีประสิทธิภาพต้องใช้วิธีการผสมผสานหลายๆ ด้าน เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับตัวเรือดการสำรวจ และประเมินผลก่อนและหลังการควบคุม การควบคุมโดยใช้วิธีทางกายภาพที่เหมาะสม เช่น การใช้ความร้อน
การจัดการสภาพแวดล้อม รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่เหมาะสมสำหรับกำจัดตัวเรือด
- การใช้ความร้อน โดยการนำเครื่องนอน ประเภทพวกผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม หรือผ้าม่านมาต้มในน้ำเดือด อย่างน้อย10 นาที แต่ปัจจุบันมีเครื่องอบผ้าจึงหันมาใช้ความร้อนจากเครื่องอบผ้า (Dryer) ที่อุณหภูมิอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที หรือการใช้เครื่องพ่นไอน้ำร้อนหรือการใช้เครื่องทำความร้อน (Heater) อบให้ห้องมีอุณหภูมิสูงถึง 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพราะตัวเรือดค่อนข้างมีความถึกทนจึงต้องใช้ความร้อนเข้าช่วย
- การใช้สารเคมีพ่นกำจัดแมลงรบกวน โดยต้องฉีดทุกซอกทุกมุมที่อาจจะเป็นแหล่งหลบซ่อนของตัวเรือด ส่วนการพ่นหมอกควันกำจัดแมลงที่เรามักเห็นพ่นเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายนั้นเป็นวิธีการที่ไม่ได้ผล ไม่สามารถกำจัดตัวเรือดได้ หากมีการใช้สารเคมีแนะนำให้มีการดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเนื่องจากต้องมีการฉีดทุกจุดที่ตัวเรือดหลบซ่อนทั้งหมด ส่วนการพ่นหมอกควันและการรมแก๊สไม่เห็นผลจึงไม่แนะนำ
- การจัดการสภาพแวดล้อม หลังจากกำจัดตัวเรือดให้หมดไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปรับปรุงห้องพัก โดยอุดรอยรั่วต่างๆไม่ให้ตัวเรือดเข้าไปอาศัยอยู่ตามรอยแตกหรือรอยแยก เช่น รอยแยกระหว่างพื้นกับผนัง รอยต่อของเตียง
สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเลือกใช้วิธีไหนในการป้องกันกำจัดตัวเรือด ขอแนะนำให้ทำการสำรวจและจัดการสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยซ้ำอีกครั้งในทุก 3-4 สัปดาห์ เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของตัวเรือดอย่างถาวรและมีประสิทธิภาพ เห็นไหมค่ะว่าการกำจัดตัวเรือดสามารถทำได้ไม่ยากและยังมีหลายวิธี ฉะนั้นถ้าเริ่มพบว่าบ้านของเรามีตัวเรือดให้รีบทำตามวิธีที่สะดวกทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาดไม่งั้นอาจมีตัวเรือดระบาดจนกำจัดไม่ไหว
เอกสารอ้างอิง :
บริการกำจัดตัวเรือด. 2567. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bbprothai.wordpress.com/about/, [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567].
บริษัท กรีน อะโกรซายน์ จำกัด. 2567. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.greenbestproduct.com, [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567].
บริษัท ซี ซี เอส จำกัด. 2567. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://ccspestcare.com/services, [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567].
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. 2554. เรือด : ชีววิทยาและการป้องกันกำจัด. นนทบุรี : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,หน้า 32.
อาคม สังวรานนท์. 2538. กีฏวิทยาทางสัตวแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: โรงพิมพ์สหมิตรพริ้นติ้ง, หน้า 133-140.
Harlan, H.J., 2006. Bed Bugs 101: the basics of Cimex lectularius. American Entomologist, 52(2).
Krueger, L., 2000. Don’t get bitten by the resurgence of bed bugs. Pest Control, 68, pp. 58-64.
Snetsinger, R., 1997. Bed bugs & other bugs. In : A. Mallis and S.A. Hedges, eds. Handbook of Pest Control, 8th ed.
Ohio: Franzak & FosterCo., pp. 393-425.
Weatherston, J. and Percy, J.E., 1978. Venoms of Rhyn-cota (Hemiptera). In: S. Bettini, ed. Athropod venoms.
handbook of experimental pharmacology, vol. 48.Berlin : Springer-Verlag, pp. 489-509
ดร.ธนภรณ์ ดวงนภา
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี