ในงานวิจัยหรือขั้นตอนการปฏิบัติกับสัตว์ทดลองอาจต้องมีกระบวนการที่จำเป็นในการใช้ยาสลบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับความรู้สึก ความเครียดและลดความเจ็บปวดชั่วขณะ เช่น การวางยาสลบในขณะทำการผ่าตัด ขณะทำการวิจัย หรือเพื่อการจับบังคับ ดังนั้นการวางยาสลบถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่มีผลกระทบทั้งต่องานวิจัย การฝึกปฏิบัติต่างๆ และยังส่งผลถึงสวัสดิภาพของสัตว์ทดลองอีกด้วย โดยการวางยาสลบที่เหมาะสมควรคำนึงถึงชนิดของสัตว์ทดลอง ชนิดของยาสลบ และวัตถุของการวางยาสลบเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งควรทำภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ผู้ดูแลสัตว์ทดลองประจำสถานที่ที่มีการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองนั้นๆ
ในการผ่าตัดสัตว์ทดลองชนิดหนูแรท หนูเมาส์ และกระต่าย ไม่จำเป็นต้องทำการอดอาหารก่อนการวางยาสลบเนื่องจากมีโอกาสเกิดการอาเจียนหรือสำลักอาหารได้ยาก และการอดอาหารทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมาได้การเลือกใช้ยาสลบหรือยาระงับความรู้สึก รวมทั้งเทคนิคในการวางยาสลบขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น คุณสมบัติของยาสลบ ผลข้างเคียงของยาสลบต่องานวิจัย ผลข้างเคียงของยาสลบต่อสัตว์ทดลอง และระยะเวลาสลบที่ต้องการ และปัจจัยอื่นๆ เช่น ต้นทุน อุปกรณ์ และประสบการณ์ในการวางยาสลบของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งการให้ยาระงับความรู้สึกสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (generalanesthesia) คือ การระงับความรู้สึกทั่วร่างกายโดยประเภทของยาสลบที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด ดังนี้
1.1 ยาสลบชนิดสูดดม เป็นการทำให้สัตว์สลบโดยการให้สัตว์สูดดมก๊าซหรือไอระเหย (volatile anesthetics) ผ่านทางปอด เป็นยาสลบชนิดที่นิยมใช้มากเนื่องจากสามารถทำให้สัตว์สลบได้อย่างรวดเร็ว สามารถควบคุมระดับความลึกการสลบได้ หมดฤทธิ์เร็ว และฟื้นจากการสลบได้เร็ว
1.2 ยาสลบชนิดฉีด เป็นการทำให้สัตว์สลบโดยการใช้ยาสลบชนิดฉีด (injectable anesthetics) เข้าหลอดเลือดดำ (intravenous) เข้าหลอดเลือดแดง (intraarterial) เข้ากล้ามเนื้อ(intramuscular) เข้าใต้หนัง (subcutaneous) หรือเข้าช่องท้อง(intraperitoneal)
2.การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (regionalanesthesia) คือ การทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหมดความรู้สึกไปชั่วขณะ
2.1 การพ่นหรือทายาชาเฉพาะที่ (topicalanesthesia) มักใช้กับส่วนที่เป็นเยื่อบุหรือผิวหนังเพื่อทาให้รู้สึกชาบริเวณนั้น
2.2 การฉีดยาชาเฉพาะที่ (local anesthesia)
2.3 การฉีดยาชารอบๆ เส้นประสาท ที่มาอวัยวะส่วนนั้น (nerve block)
ขณะวางยาสลบมีสิ่งที่จะต้องตรวจติดตามการสลบเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่าระดับความลึกของการสลบอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการทำหัตถการต่างๆ โดยสิ่งที่ต้องทำการตรวจติดตาม ได้แก่ ระดับความลึกของการสลบ การทำงานของระบบทางเดินหายใจและหัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และอุณหภูมิร่างกายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการวางยาสลบแล้ว ต้องรอให้สัตว์ทดลองฟื้นจากการสลบอย่างสมบูรณ์แล้วจึงย้ายเข้าสู่กรงที่สะอาด ในกรณีผ่าตัดควรต้องมีการให้ยาระงับความเจ็บปวดและลดการอักเสบต่อเนื่องนาน 3-5 วัน รวมถึงดูแลและทำความสะอาดแผลนาน 5-7 วัน หรือจนกว่าแผลจะแห้งสนิทดี
เอกสารอ้างอิง :
การวางยาสลบในสัตว์ทดลอง. 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://nlac.mahidol.ac.th/acth/index.php/km-labanimals/42-km-qualityanimals/173-anesthesia, [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2563].
การวางยาสลบในสัตว์ทดลอง (ตอน 2). 2563. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://nlac.mahidol.ac.th/acth/index.php/kmlab-animals/42-km-qualityanimals/192-anesthesia-2, [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2563].
Anesthesia. 2020. [online]. Available at: https://www.kentscientific.com/products/anesthesia/, [accessed 3
September 2020]
วรากร สองเมือง
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี