ในปัจจุบันกระแสการดูแลรักษาสุขภาพโดยใช้อาหารและข้อมูลทางโภชนาการ เพื่อป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุหนึ่งมาจากการขาดความรู้ทางโภชนาการ การส่งเสริมให้หันกลับมาบริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้นในแต่ละมื้อและการจำกัดปริมาณไขมัน โปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานแก่ร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งมีส่วนช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่จะให้เกิดโรคต่างๆ ได้ ทั้งนี้มีการศึกษาวิจัยมาเป็นระยะเวลานานว่า สารสำคัญที่มีอยู่ในพืชผัก ผลไม้และสมุนไพร ที่เรานำมาใช้เป็นอาหารและเครื่องเทศ มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย และส่งผลช่วยในการป้องกันและรักษาโรค ทั้งนี้ สามารถแบ่งสาระสำคัญออกได้เป็นหลายกลุ่มตามโครงสร้างทางเคมี เช่น เทอร์ปีน (terpenes) อัลคาลอยด์ (alkaloids) โพลิฟินอล (polyphenols) ไกลโคไซต์ (glycosides) เป็นต้น
สารกลุ่มโพลิฟินอลหรือสารกลุ่มฟินอลลิก (phenolics) จัดเป็นสารสำคัญในกลุ่มใหญ่ที่เรามักคุ้นเคยและได้ยินเป็นประจำ มีอยู่ทั่วไปในพืช ผัก ผลไม้และสมุนไพร เรามักนำมาใช้ประโยชน์เป็นอาหารเครื่องเทศ ยา และเครื่องสำอาง เช่น สารเอพิแกลโลคาเทซินแกลเลต (epigallocatechin gallate) ในใบชา สารเรสเวอราทรอล (resvera เอทิลซินเมต(ethylcinnamate) ในอบเชย สารเคอร์คูมิน (curcumin) ในขมิ้นชัน เป็นต้น
สารกลุ่มนี้มีโครงสร้างทางเคมีที่หลากหลายซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นแทนนิน (tannins)ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ลิกนิน (lignins) โดยที่สารกลุ่มฟลาโวนอยด์เป็นสารกลุ่มใหญ่ยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกหลายกลุ่ม เช่น ฟลาโว (flavones) ฟลาโวนอล (flavonols) โปรแอนโธไซยานิดิน (proanthocyanidins) สารกลุ่มฟินอลลิกและสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญหลายชนิด เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านการอักเสบฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ป้องกันตับ ฤทธิ์ต้านเบาหวาน เป็นต้น
จากคุณประโยชน์ดังกล่าว จึงมีผู้สนใจนำสมุนไพรที่มีสารกลุ่มฟินอลลิกและสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ในปริมาณสูงมาบริโภคเพื่อใช้ในการรักษาบรรเทา ป้องกันโรค ใช้เป็นอาหารหรือใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว อีกทั้งยังมีการสกัดออกมาในรูปแบบเข้มข้นเพื่อให้บริโภคในปริมาณที่น้อยลง หรือผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ เพื่อหวังผลในการรักษา หรือป้องกันโรคที่หลากหลาย ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรออกสู่ท้องตลาดในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี