Basic yellow 2 หรือ Auramine O ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อย้อมเส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ เช่น อะคริลิก ไนลอน พอลิเอสเทอร์ รวมทั้งเส้นใยธรรมชาติ เช่น ใยไหม หรือขนสัตว์ ใช้ในการพิมพ์ผ้า ใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบในห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาหรือทางการแพทย์ เช่น ย้อมสีแบคทีเรีย เนื้อเยื่อ หรือเซลล์ จากคุณสมบัติในการเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์
ผลของ Auramine O ที่มีต่อร่างกาย
การสูดดมหรือสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ คลื่นไส้ และอาเจียน และ The International Agency for Research on Cancer (IARC) หน่วยงานกำกับภายใต้ WHO จัดให้ Auramine O เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ชนิด 2B (หลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าก่อมะเร็งในมนุษย์แต่แสดงหลักฐานที่เพียงพอในสัตว์ทดลอง) จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสทั้งสูดดม สัมผัสทางผิวหนัง หรือบริโภคเข้าสู่ร่างกาย
การสุ่มตัวอย่างและการทดสอบ
1. เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรกับการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ โรงคัดบรรจุ ทุก Shipment (ตู้ Container) จำนวน 5 จุด
ต่อตัวอย่าง จุดละ 1 ผล (รวม 5 ผล)
2. ผู้ประกอบการปิดผนึก และเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรลงนามกำกับการสุ่มเก็บตัวอย่างบนกล่องบรรจุตัวอย่างที่มีข้อมูลดังนี้
1. ชื่อผู้ส่งออก XXX YYY (THIALAND) CO.LTD
2. หมายเลข พก.7 CK670837XXX
3. หมายเลข DOA 50000 99 XXXXXX
4. หมายเลข GAP AC 03 9001 85 111 XXXXXX
5. หมายเลขตู้คอนเทนเนอร์ YYYY 1688XXX
6. วันที่สุ่มเก็บตัวอย่าง ......................
3. ผู้ประกอบการส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการ หรือจุดให้บริการรับตัวอย่างของห้องปฏิบัติการ
4. ห้องปฏิบัติการรายงานผลทดสอบแก่ผู้ประกอบการ
1.รายงานผลทดสอบ Basic Yellow 2 ระบุผลทดสอบ ดังนี้
- ในเนื้อ จำนวน 1 ค่า (หน่วยทดสอบเป็น ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม)
- ในเปลือก จำนวน 1 ค่า (หน่วยทดสอบเป็น ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม)
(ค่ามาตรฐานต้องตรวจไม่พบ (Not detected) โดยใช้วิธีทดสอบที่มีค่า LOD ไม่เกิน 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และมีค่า LOQ ไม่เกิน 2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม)
2. ผลทดสอบแคดเมียมในเนื้อ (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
5. ผู้ประกอบการส่งผลทดสอบแก่เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรใช้ผลทดสอบ Basic Yellow 2 และแคดเมียม ประกอบการพิจารณาเพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยพืช Phytosanitary Certificate : PC) เพื่อปล่อยสินค้า
6. ผู้ประกอบการแนบใบรายงานผลการทดสอบ Basic Yellow 2 ไปกับสินค้าเพื่อแสดงที่ด่านนำเข้าประเทศจีน
ขณะนี้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา หรือ ศทม. อยู่ในระหว่างการยื่นขอการยอมรับความสามารถห้องปฏิบัติการจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อให้บริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณสาร Basic yellow 2 และแคดเมียม ทุเรียนเพื่อการส่งออก คาดว่าพร้อมให้บริการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
เอกสารอ้างอิง :
https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Auramine-O
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC7002841/
https://www.chemblink.com/products/2465-27-2.htm
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK304400
https://www.doa.go.th/psco/wp-content/
uploads/2025/01/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%992568.pdf
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี