อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดมีหน้าที่ปกคลุมร่างกายจากภายนอก คือ ผิวหนัง ซึ่งผิวหนังมี 3 ชั้น ได้แก่ หนังกำพร้า (Epidermis) หนังแท้ (Dermis) และผิวหนังชั้น
ไขมัน (Hypodermis หรือ Subcutis) ผิวหนังทำหน้าที่ป้องกันการรุกล้ำของเชื้อก่อโรค แสงยูวี สารเคมี การบาดเจ็บทางกายภาพ รวมไปถึงควบคุมอุณหภูมิและการปลดปล่อยน้ำของร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บจากการถูกของมีคมจะเกิดบาดแผลขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย กระบวนการที่สำคัญในการรักษาแผลจากการบาดเจ็บคือ กระบวนการหายของแผล (Wound healing)
เมื่อเกิดบาดแผลขึ้น กระบวนการหายของแผล มีขั้นตอนทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ระยะของการห้ามเลือด เลือดมีการแข็งตัว (Blood clot) มีการปล่อยไซโตไคน์ หรือโปรตีนกระตุ้นให้เกิดกระบวนการหายของแผลขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 ระยะการอักเสบ เกิดขึ้นหลังจากเกิดบาดแผลภายใน 10-30 นาที อาจมีระยะยาวนานถึง 3 วัน ซึ่งมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่เกิดบาดแผล ซึ่งเซลล์ที่มีความสำคัญของขั้นตอนนี้ คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเซลล์แมคโครฟาจ ซึ่งจะทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอมและเหนี่ยวนำให้มีการหลั่ง Growth factor กระตุ้นให้มีการสร้างและการเหนี่ยวนำให้เซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) ทำงาน รวมไปถึงเกิดขั้นตอนการสร้างคอลลาเจน
ขั้นตอนที่ 3 ระยะการสร้างและเพิ่มจำนวน เกิดขึ้นหลังจากเกิดบาดแผล 4 วัน-3 สัปดาห์ มีการสร้างเซลล์เส้นใยเพื่อสมานแผลรอยแยกให้ชิดและเชื่อมกัน
ขั้นตอนที่ 4 ระยะการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ โดยมีการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 1 เพิ่มขึ้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 21 วัน -1 ปี หลังจากเกิดบาดแผล มีการหดของแผล เกิดจากเซลล์สร้างเส้นใยได้สร้างและแนบชิดกันมากขึ้น
ในกระบวนการหายของแผลในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เช่น ในสัตว์ครี่งบนครึ่งน้ำมีชั้นผิวหนังเพียง 2 ชั้นคือ ชั้นหนังกำพร้า และหนังแท้ โดยมีกระบวนการคือ มีระยะการห้ามเลือด เมื่อได้รับบาดเจ็บภายในไม่กี่วินาที เลือดจะหยุดไหลและภายใน 24 ชั่วโมง เซลล์สร้างเส้นใยจะมีการสร้างประสานให้แผลปิด และมีระยะการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ภายใน 10 วัน หลังการบาดเจ็บ
อย่างไรก็ตามในกระบวนการหายของแผลของสิ่งมีชีวิต จะมีระยะเวลาที่มีความจำเพาะ ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว ความแข็งแรงของร่างกาย รวมไปถึงปัจจัยในการส่งเสริมกระบวนการหายของแผลด้วย
เอกสารอ้างอิง :
สิิริิพรรณ สังข์์มาลา, 2560. Preoperative to Postoperative Care IV-V. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก: https://meded.psu.ac.th/
binlaApp/class05/388_531/Wound_Healing/index.html.
Kawasumi, A., Sagawa, N., Hayashi, S., Yokoyama, H. and Tamura, K., 2013. Wound Healing in Mammals and
Amphibians: Toward Limb Regeneration in Mammals. Current Topics in Microbiology and Immunology,
367, pp. 33-49
ภัทรวดี เก่งกว่าสิงห์
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี