ในปัจจุบันมีเครื่องดื่มมากมายที่ได้รับความนิยม หนึ่งในเครื่องดื่มนั้นคือ ชาเขียว ไม่เพียงแค่อร่อยและให้ความสดชื่น แต่ชาเขียวในทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกรีนทีธรรมดา หรือมัทฉะเข้มข้นล้วนมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากสารในชาเขียวมีสารสำคัญที่ชื่อสาร สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (EGCG)
มาทำความรู้จักสาร EGCG
EGCG ย่อมาจาก EPIGALLOCATECHIN GALLATE เป็นสารกลุ่มพอลิฟินอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ พบมากที่สุดในชาเขียว มีศักยภาพในการป้องกันความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ โดยมีความแรงของการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซี 100 เท่า และวิตามินอี 25 เท่า
ประโยชน์ของ EGCG
จากงานวิจัยบ่งบอกว่า EGCG มีฤทธิ์ช่วยชะลอวัย ต่อต้านการเกิดริ้วรอย จึงถือได้ว่าเป็นการบำบัดที่ได้จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง และช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้ดี เช่น
- ต้านและกำจัดอนุมูลอิสระ
- ต้านการอักเสบ
- ยับยั้งการเสื่อมของระบบประสาท
- ต่อต้านมะเร็ง
- จับกับโลหะหนัก
- เพิ่มการเผาผลาญ
ปริมาณที่แนะนำ
โดยทั่วไป ชาเขียว 1 ถ้วย (ขนาด 250 มิลลิลิตร) จะมีสาร EGCG 50-100 มิลลิกรัม (และมีกาเฟอีน 30-40 มิลลิกรัม) การดื่มชาเขียว 1-4 ถ้วยต่อวัน จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีในผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะไม่มีผลเสียอะไร เว้นแต่บางคนที่ร่างกายจะมีความไวต่อกาเฟอีนหรือสาร Oxalate ที่พบในชา จึงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับไตได้ ถ้าเป็นชาเขียวมัทฉะซึ่งมีคุณภาพมากกว่าชาทั่วไป มีสาร EGCG สูง อาจจะดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน หรือถ้าเป็นชาเขียวมัทฉะช็อต (Matcha Shot) ก็ดื่มได้ 1-2 แก้วต่อวัน เป็นประจำ แต่ถ้าจะดื่มมากกว่านี้ต้องแน่ใจว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับไต
ข้อควรระวัง
ไม่แนะนำให้คนตั้งครรภ์ หรือคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องไตวาย โรคตับหรือโรคหัวใจบางชนิด รับประทานอาหารเสริม EGCG หรือสารสกัดชาเขียว และถ้าคุณกำลังรับประทานยาลดความดันและคอเลสเตอรอลก็ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อนรับประทานอาหารเสริม EGCG
การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ
ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา ประจำศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เปิดให้บริการวิเคราะห์ทดสอบหาปริมาณของ EGCG ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของลูกค้า หากสนใจสอบถามได้ผ่านระบบบริการลูกค้า JUMP (Joint Unit Multi-task Platform) หน้าเว็บไซต์ www.tistr.or.th
เอกสารอ้างอิง:
ไขความลับ EGCG สาระสำคัญจากชาเขียวที่มีดีมากกว่าการลดน้ำหนัก 2567 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.megawecare.co.th/tips-nourish/egcc-important-substance-in-green-tea/, [เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2567].
ประโยชน์ของชาเขียว. 2567. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://inthetea.com/blog/BbbBrYutXxuksw4sxKHA, [เข้าถึงเมื่อ 17
มิถุนายน 2567].
Mokra,. D, Adamcakova, J and Mokry, J., 2022. Green Tea Polyphenol (-)-Epigallocatechin-3-Gallate (EGCG): A
time for a new player in the treatment of respiratory diseases?, Antioxidants (Basel), 11(8), p. 1566.
Sivanesan, I, Muthu, M, Kannan, A, Pushparaj, S, Jae-Wook, Oh, and Gopal, J, 2022.Identification of Epigallocatechin
3-Gallate (EGCG) from Green Tea Using Mass Spectrometry, Separations, 9(8), ห้า 209
สุพัชชา ปรีชาเรืองฤทธิ์, ปรารถนา ตั้งตรีรัตน์
ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี